ผลิตภัณฑ์จาก "กะลา-ไม้มะพร้าว" สินค้าทำมือขึ้นชื่อของเกาะสมุย

 

กว่า 14ปีที่กลุ่มผลิตภัณฑ์กะลาและไม้มะพร้าวตำบลตลิ่งงาม ก่อตั้งขึ้นมาจากภูมิปัญญาของชุมชนคนเกาะสมุย ภายใต้การนำของ "สุนทร โพธิ์น้อยงาม" ที่ปัจจุบันผันตัวเองมาเป็นเจ้าของกิจการผลิตภัณฑ์กะลาและไม้มะพร้าวรายใหญ่ บนเกาะ โดยมองว่าตั้งแต่บรรพบุรุษในอดีตหลายร้อยปีมาแล้ว มีการนำเอาต้นมะพร้าว ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากบนเกาะสมุย ตั้งแต่ยอดไปจนถึงรากมาใช้ประโยชน์ ด้วยการแปรรูปเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ

  • ภาพประกอบข่าว

คมชัดลึก :

แม้ช่วงแรกอาศัยทักษะการผลิตเฉพาะตัวที่พอมีบ้าง แต่จากการทำเป็นระยะเวลานานก็เริ่มมีความชำนาญ ผลิตได้อย่างรวดเร็ว และสินค้าออกมามีคุณภาพดี จนลูกค้าเริ่มรู้จักจากการบอกกันปากต่อปาก นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเกาะสมุยก็ต้องแวะเวียนมาซื้อผลิตภัณฑ์ที่ร้าน จนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และเป็นสินค้าที่นักท่องเที่ยวที่มาสมุยต้องเดินทางมาซื้อ เพื่อเป็นของที่ระลึกจากเกาะสมุย

สุนทรยอมรับว่า วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตเป็นไม้มะพร้าวบนเกาะสมุย 100% โดยเป็นไม้ที่ถูกตัดทิ้ง ไร้ค่า จึงนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ โดยจะคัดเลือกเฉพาะไม้มะพร้าวที่มีไส้แข็ง เสี้ยนไม้ไม่หัก  มีสีที่ชัดเจน เช่น สีดำ สีแดง จึงมีส่วนทำให้สินค้ามีความคงทน ผลิตได้ง่าย และสวยงามตามธรรมชาติ เพราะไม้มะพร้าวบนกาะสมุยถือเป็นไม้มะพร้าวที่ดีที่สุดในประเทศไทย

ส่วนขั้นตอนการผลิต เขาอธิบายว่า เริ่มจากนำวัตถุดิบมาคัดสรรจากนั้นเลือกส่วนที่ดีที่สุดมาแปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามความต้องการ โดยผ่านกระบวนการกลึง ซึ่งปัจจุบันมีคนงานอยู่ 4 คนในการทำงานตรงนี้ ส่วนรูปแบบของผลิตภัณฑ์ปัจจุบันมีให้เลือกมากกว่า 1,000 แบบให้เลือก มีทั้งจากการสร้างสรรค์ขึ้นมาเองและผลิตตามคำสั่งของลูกค้า

  "ถ้าเป็นส่วนของโคนมะพร้าวต้องมีอายุประมาณ 80-100 ปีขึ้นไป ถือเป็นวัตถุดิบที่มีคุณภาพมากที่สุด เพราะสีจะเข้ม ไส้แน่น เมื่อผลิตเป็นชิ้นงานออกมาก็จะได้ผลิตภัณฑ์ที่สวยงามสะดุดตา  ส่วนที่เป็นกะลาก็จะนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องตกแต่งบ้าน เช่น โคมไฟ ตะเกียงเจ้าพายุ เครื่องประดับต่างๆ เครื่องแต่งกายสุภาพสตรี อาทิ กระเป๋า เข็มขัด เข็มกลัด ปิ่นปักผม สร้อย ฯลฯ สนนราคาตั้งแต่ 20 บาทไปจนถึง 3,000 บาท"

   เจ้าของผลิตภัณฑ์จากกะลาและไม้มะพร้าวคุณภาพส่งออกยอมรับว่า ลำพังตัวเองและสมาชิกของกลุ่มจะมีวันนี้ไม่ได้หากไม่ได้รับการช่วยเหลือจาก หน่วยราชการต่างๆ โดยเฉพาะศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จ.สุราษฎร์ธานี ได้ให้คำแนะนำปรึกษาในการประกอบธุรกิจและการพัมนาบรรจุภัณฑ์ให้ดูสวยงาม ตลอดจนการส่งเสริมนวัตกรรมอุตสาหกรรมสู่เชิงพาณิชย์มาตั้งแต่ปี 2548

"ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติที่เดินทางมาเที่ยวเกาะสมุยและเดินทาง มาที่ร้าน ได้เห็นกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน เห็นว่าเป็นสินค้าทำเอง ไม่ได้ไปรับจากที่อื่นมาขาย เขาจึงสนใจซื้อกลับไปเป็นของที่ระลึก แต่ก็มีบ้างที่เป็นพ่อค้าซื้อสินค้าไปขายต่อ ที่ผ่านมาไม่ได้ทำตลาดเลย เพียงแค่นำสินค้ามาวางขายหน้าร้าน แล้วลูกค้าก็ให้ความสนใจบอกกันปากต่อปาก" สุนทรเผย

อย่างไรก็ตาม ถือเป็นผู้ผลิตรายแรกในพื้นที่ที่มีการสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยมือและเป็น ภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยเจาะกลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นหลัก ซึ่งมีกลยุทธ์ในการตลาดด้วยการแสดงใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน พร้อมกำกับด้วยคำแปลภาษาอังกฤษ เพื่อสื่อความหมายให้ลูกค้าต่างชาติได้เข้าใจ ทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์มากขึ้น โดยปัจจุบันมียอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เฉลี่ยประมาณ 1 แสนบาทต่อเดือน สนใจแวะชมและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากไม้มะพร้าวได้ที่ร้านคุณสุนทร เลขที่ 54/2 หมู่ 1 บ้านสระเกศ ต.ตลิ่งงาม อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี โทร.0-7741-5260, 08-1273-8778 ได้ทุกวัน

" สุรัตน์ อัตตะ"

งาน Parttime สร้างรายได้จากงาน DIY

 

หากว่าใครมีความสามารถในการประดิษฐ์หรืองานประเภท DIY ช่องทางนี้ก็เป็นช่องทางที่สามารถทำเป็นงาน Parttime ได้ดีเช่นกัน ลองหางานที่เรามีความเชี่ยวชาญสักอย่างแล้วลองทำมันดู สักวันงานอดิเรกของเราอาจเป็นงานที่สร้างรายได้ให้กับเราอย่างยั่งยืนและยาวนานก็เป็นไปได้

ตัวอย่างงาน DIY ที่น่าสนใจหลายอย่างเราสามารถค้นหาได้ทางอินเตอร์เน็ทนี่เอง วันนี้ได้ไปเจอเวบที่เกี่ยวกับการทำกระเป๋าจากผ้ามา น่าสนใจมากลองเข้าไปศึกษาดูเป็นแนวทางแล้วค่อยมาประยุติ์ดูเข้าดูได้ที่ 

http://www.gooddayberry.com/index_th.php    

จะได้นำตัวอย่างการสร้างกระเป๋าจากเวบบนี้มาให้ดูกัน

วิธีทำกระเป๋าถือด้วยตนเอง ในแพทเทิร์นแบบง่าย ขนาด 7x5 นิ้ว
How to make a DIY Pouch 7x5 inch in Simple pattern

วิธีทำกระเป๋าถือด้วยตนเอง ในแพทเทิร์นแบบง่าย ขนาด 7x5 นิ้ว How to make a DIY Pouch 7x5 inch in Simple pattern วัสดุที่ใช้
- ผ้าฝ้าย ขนาด 22.5 x 27 ซม.
- ผ้าซับใน ขนาด 22.5 x 27 ซม.
- ผ้ากาว ขนาด 18.5 x 26 ซม.
- ซิปไนลอน ความยาว 7 นิ้ว
- ป้ายสัญลักษณ์ สำหรับติดกระเป๋า (ถ้ามี)

วิธีทำกระเป๋าถือด้วยตนเอง ในแพทเทิร์นแบบง่าย ขนาด 7x5 นิ้ว How to make a DIY Pouch 7x5 inch in Simple pattern วิธีทำ

1. นำผ้าฝ้ายมาวางหงายด้านหลัง (ด้านผิด) ของผ้าขึ้น แล้วนำผ้ากาวที่เปียกน้ำหมาดๆ มาวางทับโดยให้ด้านที่มีกาว (ผิวซากๆ) ประกบกับผ้า

2. รีดด้วยเตารีดไฟปานกลาง โดยเริ่มตั้งแต่ตรงกลางแล้วไล่ออกด้านข้าง ระวังอย่าให้เกิดช่องว่างของฟองอากาศ รีดจนกระทั้งผ้ากาวแห้งติดกับผ้า

วิธีทำกระเป๋าถือด้วยตนเอง ในแพทเทิร์นแบบง่าย ขนาด 7x5 นิ้ว How to make a DIY Pouch 7x5 inch in Simple pattern

3. นำซิปมาประกบหน้าเข้ากับด้านหน้าที่มีลาย (ด้านถูก) ของผ้าที่มีการรีดติดผ้ากาวไว้แล้ว โดยให้ซิปชิดกับขอบผ้าของด้านที่มีความยาวสั้นกว่าอีกด้าน แล้วเย็บเป็นทางตรง โดยให้ฝีเข็มห่างจากขอบผ้า 0.2 ซ.ม. จากขอบนอก

4. กางซิปออกจากผ้าที่เย็บติดกัน โดยกางให้เกิดแนวพับใหม่ห่างจากขอบผ้าที่ติดซิป 0.5 ซ.ม. ไม่ควรใช้รอยเย็บเป็นแนวพับ

5. เย็บเป็นทางตรง โดยให้ฝีเข็มห่างจากขอบแนวพับใหม่ 0.2 ซ.ม.

วิธีทำกระเป๋าถือด้วยตนเอง ในแพทเทิร์นแบบง่าย ขนาด 7x5 นิ้ว How to make a DIY Pouch 7x5 inch in Simple pattern

6. นำผ้าอีกฝั่งของผ้าด้านหน้าที่มีลาย (ด้านถูก) ขึ้นมาประกบกับขอบซิปฝั่งที่เหลือ

7. เย็บเป็นทางตรง โดยให้ฝีเข็มห่างจากขอบผ้า 0.2 ซ.ม.

8. พลิกกลับผ้าให้ด้านหน้าออก โดยจับผ้าด้านที่กำลังติดซิปให้เกิดแนวพับใหม่ ห่างจากขอบผ้าที่ติดซิป 0.5 ซ.ม. แล้วเย็บเป็นทางตรง โดยให้ฝีเข็มห่าง จากขอบแนวพับใหม่ 0.2 ซ.ม.

วิธีทำกระเป๋าถือด้วยตนเอง ในแพทเทิร์นแบบง่าย ขนาด 7x5 นิ้ว How to make a DIY Pouch 7x5 inch in Simple pattern

9. จับผ้าที่ติดซิปแล้วประกบหน้าเข้าหากัน โดยให้ซิปเป็นแนวกลางแบ่งผ้าทั้งสองฝั่ง และพับป้ายโลโก้เตรียมไว้ตามรูป (ถ้ามีป้ายโลโก้)

10. รูดซิปเปิดไปจนสุด และสอดป้ายโลโก้ (ถ้ามี) ในตำแหน่งที่ต้องการด้านข้าง

11. เย็บเป็นทางตรงด้านข้างทั้งสองข้าง โดยมีระยะห่างระหว่างแนวเย็บประมาณ 18.5 ซ.ม. หรือตามแนวการติดผ้ากาวก็ได้ โดยต้องระวังไม่ให้ แนวเย็บไปตัดทับกับตำแหน่งหัวซิปพอดี ควรเว้นระยะห่างจากหัวซิปประมาณ 0.5 ซ.ม.สามารถใช้ปากกาเขียนผ้าหรือดินสอเขียนผ้ามาขีดเส้น ทำแนวร่างสำหรับเย็บเพื่อให้การเย็บเป็นที่ต้องการ

วิธีทำกระเป๋าถือด้วยตนเอง ในแพทเทิร์นแบบง่าย ขนาด 7x5 นิ้ว How to make a DIY Pouch 7x5 inch in Simple pattern

12. พลิกผ้าซับในประกบหน้า (ด้านมีลายหรือด้านถูก) เข้าหากัน โดยแบ่งให้ขอบผ้าประกบกันสนิท

13. เย็บเป็นทางตรงด้านข้างทั้งสองข้าง โดยมีระยะห่างระหว่างแนวเย็บประมาณ 18.5 ซ.ม.สามารถใช้ปากกาเขียนผ้าหรือดินสอเขียนผ้ามาขีดเส้น ทำแนวร่างสำหรับเย็บเพื่อ ให้การเย็บเป็นที่ต้องการ

14. กลับด้านพลิกเอาด้านหน้าของผ้าซับในออกด้านนอก

วิธีทำกระเป๋าถือด้วยตนเอง ในแพทเทิร์นแบบง่าย ขนาด 7x5 นิ้ว How to make a DIY Pouch 7x5 inch in Simple pattern

15. นำชิ้นงานของผ้าที่ติดซิปชิ้นหลัก กางขอบตะเข็บด้านข้างออกตามแนวเย็บทั้งสองข้าง แล้วสอดชิ้นงานหลักลงในชิ้นงานผ้าซับในที่พับขอบของ ผ้าซับในเข้าไปประมาณ 0.5 ซ.ม. สอดลงไปให้สุดโดยจัดทรงให้ผ้าแนบสนิทกันและตึงให้มากที่สุด

16.. เย็บมือประกอบผ้าซับในให้ติดกับชิ้นงานหลักของกระเป๋าด้วยการเย็บแบบสอยด้ายตามแนวซิปให้ปิดสนิทครบรอบ

17. กลับด้านพลิกเอาด้านหน้าของกระเป๋าออกด้านนอก แล้วจัดแต่งรูปทรงให้เข้าที่ อาจจะรีดด้วยเตารีดไฟปานกลางและฉีดน้ำยารีดผ้าเรียบ ทั้งด้านในและนอกเพื่อความสวยงามของชิ้นงาน เป็นอันเสร็จสมบูรณ์สำหรับกระเป๋าถือ DIY Pouch ด้วยตนเอง ในแพทเทิร์นแบบง่าย ขนาด 7x5 นิ้ว ซึ่งกระเป๋าชิ้นแรกของคุณทำขึ้นอาจจะยังไม่สมบูรณ์ ต้องหมั่นฝึกฝนทำกระเป๋าให้บ่อยๆ แล้วกระเป๋าจะออกมาดีขึ้นเรื่อยๆ

บทความวิธีทำกระเป๋า เขียนโดย GoodDayBerry.com
อนุญาติให้เผยแพร่ได้ในเชิงวิชาการเท่านั้น โดยต้องอ้างอิงถึงเจ้าของบทความและ URL link ของหน้านี้ทุกครั้ง ห้ามไม่ให้นำไปเผยแพร่ในเชิงการค้า จำหน่าย ตีพิมพ์ โดยมิได้รับการอนุญาติ

http://www.gooddayberry.com/diy/howto/diy_pouch_7x5inch_simple_pattern.php?title=How-to-make-a-DIY-Pouch-7x5-inch-in-Simple-pattern

ฝึกอาชีพ เพิ่มรายได้ งานพิเศษ งาน Parttime เรียนฟรีที่ศูนย์ฝึกอาชีพจตุจักร

เค้าลางผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจเริ่มชัดเจนขึ้นทุกที จากข่าวที่บริษัทเอกชนและ โรงงานต่าง ๆ เริ่มปลดพนักงานกันเป็นระลอก ทำให้คนทำงานต้องไหวตัวให้ทันและเตรียมพร้อม รับมือกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่ต้องเผชิญในปีพ.ศ. 2552

นี้ด้วยความไม่ประมาท จะทำอย่างไรหากรายได้ลดลงเพราะถูกลดชั่วโมงการทำงาน หรือหากจู่ ๆ บริษัทปิดกิจการ พนักงานถูกเลิกจ้าง หรือแม้แต่เรียนจบมาแล้วหางานทำ ไม่ได้ การฝึกอาชีพก็เป็นช่องทางช่วยเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง หากเรียนแล้วเกิดไอเดียนำไปต่อยอดก็สามารถเริ่มต้นกิจการเล็ก ๆ ของตัวเองได้

เรียนฟรีที่ศูนย์ฝึกอาชีพจตุจักรเรียนฟรีที่ศูนย์ฝึกอาชีพจตุจักร เรียนฟรีที่ศูนย์ฝึกอาชีพจตุจักร เรียนฟรีที่ศูนย์ฝึกอาชีพจตุจักร

เรียนฟรีที่ศูนย์ฝึกอาชีพจตุจักร

              ที่ศูนย์ฝึกอาชีพจตุจักรมีหลักสูตรมากมายให้คุณเลือกเรียนได้ตามความสนใจ ที่สำคัญเรียนฟรี ไม่เสียค่าสมัคร เรียนจบแล้วมีวุฒิบัตรให้ ทั้งหลักสูตร 80 ชั่วโมง ได้แก่ อาหารคาว เบเกอรี นวดแผนไทย สปา เพ้นท์ผ้าบาติก ดอกไม้ดินหอม ร้อยลูกปัด แกะสลักผลไม้ เทียนแฟนซี ซ่อมโทรศัพท์มือถือ และหลักสูตร 160 ชั่วโมง ได้แก่ ตัดผมชาย เสริมสวย และตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี เป็นต้น

คุณอรปรียา คำมัน หัวหน้าศูนย์ฝึกอาชีพจตุจักร

คุณอรปรียา คำมัน หัวหน้าศูนย์ฝึกอาชีพจตุจักรเล่าให้ฟังว่า ศูนย์ฝึกอาชีพจตุจักรเปิดฝึกอาชีพให้แก่
ผู้สนใจตั้งแต่ปีพ.ศ. 2546 เดิมอยู่ในส่วนของสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร ต่อมาแยกออกมาให้แต่ละสำนักงานเขตบริหารจัดการ ด้วยตนเอง เริ่มแรกนั้น ศูนย์ฝึกอาชีพจตุจักรเปิดในตลาดนัดจตุจักร ตอนนี้เปิดเพิ่มที่ห้างสรรพสินค้ายูเนียนมอลล์ บริเวณหน้าลิฟท์ สำหรับหลักสูตรงานประดิษฐ์ต่าง ๆ เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ที่มาเรียน และยังสามารถประชาสัมพันธ์หลักสูตรในวงกว้างมากขึ้น เข้าถึงผู้สนใจได้มากขึ้นด้วย ส่วนหลักสูตรที่ยังอยู่ที่ลานจอดรถตลาดนัดจตุจักร คือ หลักสูตรอาหารคาว เบเกอรี นวดแผนไทย สปา ตัดผม เสริมสวย และตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี

เมื่อถามถึงหลักสูตรที่ได้รับความนิยม คุณอรปรียาเปิดเผยว่า ที่ได้รับความนิยมก็จะเป็น นวดแผนไทย สปา ตัดผม เสริมสวย และการทำอาหาร เพราะสามารถนำไปประกอบอาชีพได้เลย ร้านอาหารหลายแห่งที่ทราบว่าเราเปิดสอนทำอาหาร ก็จะมาติดประกาศรับสมัครพนักงานไว้ ใครที่สนใจ เรียนจบแล้วก็สามารถเข้าไปสมัครได้ หรือบางคนเรียนเพื่อไปทำงานต่างประเทศก็มีมาก และ เมื่อเร็ว ๆ นี้ทางศูนย์ฝึกอาชีพจตุจักรได้เปิดหลักสูตรเพิ่มเติมเพื่อให้เข้ากับกระแส ความสนใจในปัจจุบัน ได้แก่หลักสูตรจัดดอกไม้สด ถักโครเชท์-นิตติ้ง ของขวัญของชำร่วย และเพ้นท์เล็บ ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้สนใจเป็นจำนวนมากเช่นกัน

                คุณอรปรียา ฝากทิ้งท้ายว่า บุคคลทั่วไปอาจยังไม่ทราบว่าศูนย์ฝึกอาชีพจตุจักรมีเปิดสอนอาชีพฟรี เพราะที่ผ่านมาการประชาสัมพันธ์อาจยังไม่ทั่วถึง สำหรับผู้ที่ว่างงานสามารถ สมัครเรียนในวันธรรมดาได้ตั้งแต่เวลา 9.00-15.00 น. ส่วนที่ผู้ต้องการเรียนเป็นอาชีพเสริม หรือใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์สามารถสมัครเรียนในวันเสาร์-อาทิตย์ได้ ตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น.

                คราวนี้มาฟังความคิดเห็นทางด้านนักเรียนกันบ้างว่าเขามีแนวทางนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอาชีพไปประกอบอาชีพได้อย่างไร

            คุณบุญญานิจาภรณ์ คำวิโรจน์ นักเรียนของ ศูนย์ฝึกอาชีพจตุจักรในหลักสูตรเสริมสวยและเพ้นท์เล็บ เธอเล่าว่า ตอนนี้ออกจากงานประจำเพราะเตรียมตัวจะไปทำงานที่ออสเตรเลีย ซึ่งน้องสาวที่อยู่ทางนั้นบอกว่ากำลังขาดแคลนช่างเสริมสวย เพ้นท์เล็บ ต่อเล็บ ถ้าเราเรียนทางด้านนี้ไปก็จะหางานทำได้ง่ายและรายได้ดี สำหรับคนที่ไม่ได้จะไปต่างประเทศเรียนจากที่นี่ไป ก็ไปประกอบอาชีพ ไปเปิดร้านได้ อย่างเพ้นท์เล็บตอนนี้ก็กำลังเป็นที่นิยม

     คุณพิพัฒน์ ศิริเดช เปิด เผยว่า ตนเองทำงานประจำเกี่ยวกับอะไหล่และชุดตกแต่งรถยนต์ ที่มาเรียนหลักสูตรซ่อมโทรศัพท์มือถือเพราะอยากเปิดร้านซ่อมโทรศัพท์มือถือ ภายในหมู่บ้านแถวปทุมธานี เนื่องจากแถวนั้นยังไม่มีใครเปิดร้านแบบนี้ และคาดว่าในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี การเดินทางก็เป็นจุดหนึ่งที่ลูกค้าพิจารณา ไปแล้วคุ้มกับค่ารถเมล์ค่าเสียเวลาหรือไม่ ถ้ามีร้านซ่อมโทรศัพท์มือถือภายในหมู่บ้านคนในหมู่บ้านก็สะดวก ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

                อีกหนึ่งหนุ่มที่มาเรียนซ่อมโทรศัพท์มือถือ คือคุณกิตติโชติ คณิตเลขการ บอกกับเราว่า ช่างซ่อมโทรศัพท์มือถือเป็นอาชีพที่น่าสนใจ เพราะทุกคนก็ใช้โทรศัพท์มือถือกันอยู่แล้ว ซึ่งมันพัฒนาไปไม่หยุด ถ้าเราหัดซ่อม หัดแก้บ่อย ๆ เราก็ได้ฝึกวิชาความรู้เพิ่มเติม ก็สามารถหาเช่าที่เปิดร้านตามตลาดนัดหรือที่อื่น ๆ สำหรับคนที่วันเสาร์-อาทิตย์ว่าง ๆ  ไม่มีอะไรทำ ก็สามารถมาเรียนเพิ่มเติม ได้ความรู้และได้เจอเพื่อนหลากหลายวัย ทั้งชาย-หญิง

            คุณณัฐินีย์ ถือแก้ว มาเรียนจัดดอกไม้สดที่นี่เพราะเพื่อนแนะนำ ด้วยเห็นว่าเธอชอบจัดดอกไม้อยู่แล้ว มาเรียนเพื่อให้มีความรู้ไว้
ในอนาคตเมื่อไรที่เต็มอิ่มกับงานประจำก็อาจจะหาเงินทุนมาเปิดร้านดอกไม้ของ ตัวเอง มาเรียนที่นี่ค่าใช้จ่ายน้อย อาจารย์ก็สอนดี ส่วนดอกไม้อาจารย์เป็นคนจัดหามาให้ เราก็เฉลี่ย ๆ กันออกสตางค์

            นับเป็นช่องทางที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่กำลังว่างงาน หรือมองหาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลกเช่นนี้ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ฝึกอาชีพจตุจักร โทร. 0 2272 4741, 0 2513 6654 แต่ หากไม่สะดวกไปที่จตุจักร ทางกรุงเทพมหานครก็มีศูนย์ฝึกอาชีพที่ขึ้นกับสำนักงานเขตอีก 7 แห่งซึ่งมีหลักสูตรน่าสนใจให้เลือกเรียนมากมายเช่นกัน ได้แก่ ศูนย์ฝึกอาชีพวัดวรจรรยาวาส เขตบางคอแหลม โทร. 0 2292 0194 และ 0 2289 3478 ศูนย์ฝึกอาชีพวัดธรรมมงคล เขตพระโขนง โทร. 0-2331-7573-4 ศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัด เขตบางพลัด โทร. 0 2423 2026 ศูนย์ฝึกอาชีพมีนบุรี เขตมีนบุรี โทรศัพท์ 0 2540 4375-6 ศูนย์ฝึกอาชีพสวนลุมพินี เขตปทุมวัน โทร. 0 2251 5849, 0 2251 5268 ศูนย์ฝึกอาชีพรามคำแหง เขตบางกะปิ โทร. 0 2809-8026 กด 8 , 04113-6125 และศูนย์ฝึกอาชีพวัดสุทธาวาส เขตบางกอกน้อย โทร. 0 2412 4611-2

วุ้นไทย ลงทุนน้อย ขายได้กำไรเท่าตัว 0

วันนี้นำอาชีพทำเงินที่น่าจะเป็น งาน Parttime มานำเสนอ เผื่อว่ามีคนสนใจจะได้นำไปทำมาหากินกัน ขอบตุณข้อมูลจาก http://www.thaismefranchise.com 

 

“สิ่งสำคัญของวุ้นอยู่ที่น้ำ ควรเลือกใช้น้ำต้มสุก สะอาด ปราศจากสี กลิ่น รส มิฉะนั้น วุ้นที่ได้จะมีกลิ่นเหม็นคาว ส่วนรูปแบบ อาศัยแม่พิมพ์ที่แปลกตา อาทิ รูประฆัง โบว์ สัตว์ต่างๆ ตัวการ์ตูน หรือรูปอักษรจีน ภาษาเกาหลี ญี่ปุ่น รวมไปถึงลายที่ได้รับความนิยม ไม่ว่าจะเป็น สัญลักษณ์วันเกิด หัวใจ รูปโบว์ ดอกกุหลาบ ผลไม้ ตัวอักษร เป็นต้น”

หนึ่งในเมนูขนมไทยที่หารับประทานง่าย รสชาติอร่อย และเป็นที่นิยมตลอด นั่นคือ “วุ้น” ขนมหวานเนื้อนิ่ม ใสแจ๋ว ปัจจุบันกระตุ้นยอดขาย ด้วยการนำมาพลิกแพลงรสชาติให้มีความหลากหลาย เเละรูปแบบมากมาย อาทิ วุ้นเฉาก๊วย วุ้นลูกชุบ วุ้นมะม่วง วุ้นกาแฟ วุ้นเค้ก วุ้นสตรอเบอร์รี่ วุ้นน้ำนมถั่วเหลือง วุ้นนมสด วุ้นธัญพืช วุ้นชาเขียว วุ้นนมพร่องมันเนย วุ้นสายรุ้งกะทิ วุ้นหน้าทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ถั่วดำ สังขยา เป็นต้น

วันนี้ ก้าวแรกเศรษฐี มีผู้เชี่ยวชาญด้านการทำวุ้น มาร่วมเผยข้อมูล รายละเอียด กรรมวิธีการทำ สถานที่จำหน่าย และเคล็ดลับต่างๆ เกี่ยวกับการทำวุ้น นั่นคือ อาจารย์พรรณี เล้าศิริ

วุ้นไทยแฟนซีปัจจุบัน อาจารย์พรรณี นอกจากเป็นวิทยากรประจำศูนย์อาชีพและธุรกิจ มติชน ยังดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการแผนกบัญชี บริษัทแห่งหนึ่ง และยังจำหน่ายวุ้นเป็นอาชีพเสริม ซึ่งลักษณะวุ้นที่เธอจำหน่ายเป็นวุ้นแฟนซี สีสันสวยงาม เนื้อนิ่ม รับประทานง่าย รสชาติหวานกำลังดี รับประทานได้ทุกเพศ ทุกวัย

เริ่มต้น อาจารย์ อธิบายคุณสมบัติของวุ้นว่า มี 2 รูปแบบ คือ วุ้น A และ วุ้น AA ความแตกต่างคือ วุ้น A เนื้อจะนิ่ม เนียน ไม่กรอบ ส่วนวุ้น AA จะมีความแข็ง และกรอบ ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้ ความนิยมบริโภค เท่าๆ กัน แต่ที่ขายตามท้องตลาด ส่วนใหญ่มักจำหน่ายรูปแบบ AA เนื่องจากต้นทุนต่ำกว่า

สำหรับอุปกรณ์การทำวุ้น ผู้เชี่ยวชาญ บอกว่า ส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วในครัวเรือน อาทิ หม้ออะลูมิเนียม ทัพพี ช้อนกาแฟ กระติก ไม้จิ้มฟัน ผ้าขาวบาง มีบางชนิดที่ต้องหาซื้อเพิ่ม เช่น แบบพิมพ์ ถ้วยตวง ช้อนตวง ที่ปาดส่วนผสม สีผสมอาหาร ขวดที่มีฝาบีบ พาย

“อุปกรณ์ที่จำเป็น ขาดไม่ได้ในการทำวุ้น ได้แก่ ช้อนตวง ถ้วยตวงแห้ง ถ้วยตวงน้ำ พาย ทัพพี กระติกเก็บความร้อน ช้อนชงกาแฟ หม้อสำหรับเคี่ยววุ้น ผ้าขาวบาง ไม้จิ้มฟัน ขวดสำหรับหยดสี สีผสมอาหาร กลิ่น กล่องใส่วุ้น ถุง และสก๊อตเทปใส ทั้งหมดนี้หากซื้อใหม่ยกชุด ต้นทุนประมาณ 3,000 บาท พร้อมวัตถุดิบอีกจำนวนหนึ่ง” อาจารย์พรรณี ระบุ

ลำดับถัดมา ถามถึงค่าวัตถุดิบ อาจารย์คนเดิม เผย ผงวุ้นที่จำหน่าย ทั่วไป 50 กรัม ราคา 53 บาท รวมน้ำตาล ภาชนะบรรจุ กล่อง ต้นทุนอยู่ที่ 170 บาท แต่สามารถทำกำไรได้เกินครึ่ง หรือประมาณ 200 เปอร์เซ็นต์ “ถ้าทำวุ้นตามสูตรที่ให้ไป จะได้วุ้นไซซ์เล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ประมาณ 250 ถ้วย ส่วนประกอบ คือ ผงวุ้น 1 ซอง ขนาด 50 กรัม ราคา 53 บาท น้ำตาล 2 1/2 ถ้วย ถ้วยขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว 3 แพ็ก หรือ 250 ถ้วย ราคา 39 บาท กะทิ 1 กล่องใหญ่ เฉลี่ยต้นทุนทั้งหมดประมาณ 170 บาท จำหน่ายถ้วยละ 2 บาท เบ็ดเสร็จกำไร 330 บาท”

เมื่อเป็นสินค้าที่ทำกำไรสูง ฉะนั้น ถ้าต้องการทำขาย ปริมาณควรอยู่ที่เท่าไหร่ และเริ่มต้นขายด้วยวิธีใด อาจารย์ ระบุ ปัจจุบันเนื่องจากคาดเดาตลาดยาก อีกทั้งตัวเลือกขนมมีมาก ดังนั้น บรรดามือใหม่ ควรเริ่มแต่น้อย ทดลองทำเพียง 1 สูตร หรือประมาณ 250 ถ้วยเล็ก ไปก่อน เมื่อเริ่มมีลูกค้า ค่อยประชาสัมพันธ์ว่ารับทำตามออร์เดอร์ วิธีนี้นอกจากไม่สิ้นเปลืองแล้ว ยังทราบความต้องการของผู้บริโภคแท้จริง “แม้วุ้นจะเป็นขนมที่ต้นทุนไม่สูง แต่แรกๆ ควรทำขายแต่น้อย เพราะปัจจุบันคาดเดาตลาดยาก ส่วนวิธีจำหน่ายที่ประหยัด เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจที่สุดคือ นำวุ้นใส่กระติกปิคนิค แล้วตั้งโต๊ะสแตนเลสวางจำหน่าย”

0042

โดดเด่นด้วย รูปแบบ

เผยสูตรให้ลองทำ

เนื่องจากปัจจุบัน มีผู้ประกอบการจำหน่ายวุ้นเป็นจำนวนมาก ถามว่า ทำอย่างไรวุ้นจะมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ มีรูปลักษณ์ที่โดดเด่น สามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้ อาจารย์ ตอบว่า สิ่งสำคัญของวุ้นอยู่ที่น้ำ ควรเลือกใช้น้ำต้มสุก สะอาด ผ่านการกรองจนแน่ใจว่า ปราศจาก สี กลิ่น รส มิฉะนั้น วุ้นที่ได้จะมีกลิ่นเหม็นคาว ส่วนรูปแบบ ควรใช้แม่พิมพ์ที่แปลกตา และได้รับความนิยม อาทิ รูประฆัง โบว์ สัตว์ต่างๆ ตัวการ์ตูน อักษรจีน ภาษาเกาหลี ญี่ปุ่น สัญลักษณ์วันเกิด หัวใจ รูปโบว์ ดอกกุหลาบ ผลไม้ ตัวอักษร “วุ้นถ้าทำตามสูตร รสชาติที่ได้ ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก ขึ้นอยู่กับความอดทนของผู้ทำ เนื่องจากใช้เวลานาน ประมาณ 3 ชั่วโมง สิ่งสำคัญ อยู่ที่การนำไปประยุกต์เข้ากับขนมชนิดอื่น เช่น วุ้นเค้ก วุ้นลูกชุบ เป็นต้น”

ดูเหมือนว่า การประกอบอาชีพดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงาน หรือพื้นที่การทำมากนัก ลำพังคนเดียวก็สามารถประกอบกิจการได้ ถูกหรือไม่ อาจารย์พรรณี กล่าวว่า ทุกอย่างทำเองคนเดียวได้ ภายในบริเวณที่พักอาศัย สมมติจะขายพรุ่งนี้ วันนี้สามารถทำล่วงหน้าเตรียมไว้ได้เลย “วุ้นใสเก็บได้นาน 6 วัน หากเป็นวุ้นกะทิ เก็บได้นาน 3 วัน เคล็ดลับตอนขายให้นำไปแช่เย็น วุ้นจะมีรสชาติอร่อยขึ้น หากจำหน่ายไม่หมด นำวุ้น มาขูดฝอย นำไปตั้งไฟเคี่ยวใหม่ สักพัก จะออกมาเป็นวุ้นเหมือนเดิม ซึ่งวิธีนี้ใช้ได้กับวุ้นใสเท่านั้น”

ทราบรายละเอียดถึงตรงนี้ ขอคำแนะนำถึงการเลือกทำเล ผู้รู้ แนะว่า ควรเลือกบริเวณที่มีคนพลุกพล่าน เช่น ตลาดนัด ตลาดสด งานวัด งานประจำปี ชุมชน หอพัก บริษัทห้างร้าน ป้ายรถประจำทาง หน้าร้านสะดวกซื้อ สถานศึกษา หรือใครที่มีร้านอาหารอยู่แล้ว ให้นำไปเสริมเป็นของหวาน ส่วนวัน เวลาขาย ไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆ ขายได้ทุกวันไม่มีวันหยุด

นอกจากวุ้นจะลงทุนต่ำ ขายได้กำไรดีแล้ว ข้อได้เปรียบอีกอย่างคือ วัตถุดิบหาซื้อได้ง่าย อาจารย์ กล่าวว่า ส่วนผสมทุกอย่าง สามารถซื้อได้ที่ตลาดสด ร้านขายของชำ ซุปเปอร์มาร์เก็ต และห้างสรรพสินค้าทั่วไป ไม่เหมือนกับอาชีพขายอาหาร หรือผลไม้ ที่ต้องมีร้านประจำ หรือซื้อจากแหล่งถึงจะได้ราคาถูก

ก่อนยุติเนื้อหา อาจารย์พรรณีนำสูตรการทำวุ้นใส และวุ้นกะทิ มาให้ทดลองทำ และย้ำว่า โอกาสในการขายวุ้นยังมีพื้นที่อีกมาก เนื่องจากปัจจุบัน มีคนนิยมหันมาบริโภคขนมชนิดนี้มากขึ้น ตัวอย่าง แทนเค้กวันเกิด เค้กปีใหม่

สนใจสอบถามเนื้อหา ข้อมูล การทำวุ้น หรือเข้ารับการอบรม ติดต่อ ศูนย์อาชีพและธุรกิจ มติชน โทรศัพท์ (02) 589-2222, (02) 589-0492 และ (02) 954-4999 ต่อ 2100, 2101, 2102 และ 2103

0041

การทำวุ้นใส และวุ้นกะทิ

ส่วนผสม วุ้นใส

1. ผงวุ้น (ควรใช้ตรานางเงือก A เดียว) 3 ช้อนโต๊ะ

2. น้ำตาลทรายขาว 2 1/2 ถ้วยตวง

3. ใบเตยหอมสด (ใส่มากๆ ยิ่งดี) 6 ใบ

4. กลิ่นใบเตย (ตราวินเนอร์) 5-10 หยด

5. น้ำเปล่าสะอาด (ควรใช้น้ำที่ผ่านเครื่องกรองน้ำ) 8 ถ้วยตวง

วิธีทำวุ้นใส

1. นำผงวุ้นที่ตวงแล้ว แช่น้ำเปล่า 2 ถ้วยตวง แช่นานประมาณ 1 ชั่วโมง

2. นำหม้อใส่น้ำเปล่า 6 ถ้วยตวง ใส่ใบเตยสดล้างสะอาด ตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 4-5 นิ้ว ตั้งไฟให้เดือด เคี่ยวจนกระทั่งได้กลิ่นใบเตย จากนั้นตักออก

3. นำวุ้นที่แช่น้ำแล้ว ลงไปคนจนละลาย ใช้เวลาประมาณ 7-8 นาที จะมีลักษณะหนึบๆ ใส่น้ำตาลทรายขาว และหยดกลิ่นใบเตยประมาณ 5-10 หยด คนกระทั่งน้ำตาลละลาย จากนั้นยกลง เทใส่กระติกเก็บความร้อน ปูผ้าขาวบางบนปากกระติก ปิดฝาไว้ก่อน และทำวุ้นกะทิต่อทันที

ส่วนผสม วุ้นกะทิ

1. ผงวุ้น (ควรใช้ตรานางเงือก A เดียว) 3 ช้อนโต๊ะ

2. น้ำตาลทรายขาว 1 ถ้วย

3. ใบเตยหอมสด

4. หัวกะทิ

(ใช้กะทิกล่องพาสเจอไรซ์ ตราชาวเกาะ ขนาด 1,000 กรัม) 4 ถ้วยตวง

5. เกลือป่น ซองละ 2 บาท 2 ช้อนโต๊ะ

6. แป้งข้าวเจ้า 1 ช้อนโต๊ะ

7. น้ำเปล่าสะอาด 4 ถ้วยตวง

วิธีทำวุ้นกะทิ

1. นำผงวุ้นที่ตวงแล้ว แช่น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง นานประมาณ 1 ชั่วโมง

2. นำหม้อใส่น้ำเปล่า 3 ถ้วยตวง ใส่ใบเตยสด ที่ล้างสะอาด และตัดใบเตยเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 4 หรือ 5 นิ้ว ตั้งไฟเคี่ยวจนกระทั่งได้กลิ่นใบเตย จากนั้นตักออก ใส่วุ้นที่แช่น้ำแล้วลงไป คนจนวุ้นละลายจะมีลักษณะหนึบๆ

3. ใส่น้ำตาลทรายขาว พอน้ำตาลละลาย ใส่เกลือ กะทิ แป้งข้าวเจ้า คนพอสุก อย่าให้กะทิแตกมัน

4. ยกลงจากเตา เทวุ้นกะทิที่เสร็จแล้วลงไปในกระติกเก็บความร้อนปิดฝาไว้

วิธีการหยอด : ให้ใช้แม่พิมพ์ ขนาดถ้วยพอดีคำ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว เทวุ้นใส สลับกับวุ้นกะทิ เริ่มต้นวุ้นชนิดใดก็ได้ แต่ชั้นสุดท้ายต้องเป็นวุ้นใส เนื่องจากสีสันจะสวยงาม และรสชาติกลมกล่อม

โดย ดวงกมล โลหศรีสกุล

งาน Parttime งานพิเศษ รายได้เสริม ด้วยต้นคริสมาส

อย่าปล่อยเวลาของคุณให้สูญเปล่า สร้างรายได้ด้วยงานอดิเรก...

โดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น งานฝีมือไทย งานฝีมือนานาชาติ แกะสลัก หรือวาดภาพ นั้น ทำเล่น ๆ เป็นงานอดิเรกได้ หรือทำจริงจัง เพื่อหารายได้ เสริม ล้วนแล้วแต่มีคุณค่า เพราะงานทุกชิ้นทำมาด้วยใจรัก วันนี้มีวิธีการทำต้นคริสมาสจากใยบัวมาฝากกัน ดังนี้

การทำต้นคริสมาสจากใยบัว
วัสดุ อุปกรณ์

  1. ผ้าใยบัวสีมัดย้อม สีธรรมชาติส่วนใหญ่จะเป็น สีแดง เหลือง และเหลืองส้ม
    สำหรับทำดอก และใบ
  2. ลวดพันก้านสีเขียวเบอร์ 24
  3. ฟลอร่าเทปสีเขียว และสีตามเฉดใบชั้นบน
  4. ก้านสำเร็จ ยาว 30 ซม. จำนวนตามต้องการ(นับตามช่อ)
  5. สีน้ำมันเหลืองอมส้ม ไว้แต้มเกสร
  6. ด้าย และลูกปัดรูปวงรี
  7. ลวดเบอร์ 24 และ 28 ส่วนมากจะใช้สีทอง และสีเงิน

วิธีทำ

  1. ก่อนอื่น มาทำเกสรกันก่อนดีกว่า โดยนำลวดพันก้านสีเขียวเบอร์ 24 ตัดยาวประมาณ 8 ซม. ใช้คีมบีบเป็นปมที่ปลาย
    แล้วนำไปลูกปัดมาเสียบที่ปลายก้าน ดึงให้แน่น เสร็จแล้วนำฟลอร่าเทปพันปิดลูกปัด และก้านให้แน่น
  2. นำเกสรอีก 5 อัน มาติดให้ยอด โดยติดให้ต่ำกว่าเกสรอันแรกเล็กน้อย จึงจะสวยงาม เสร็จแล้วพันก้าน
    และแต้มสีน้ำมันที่ปลายเกสร จากนั้นดัดก้านแยกออกให้สวย
  3. มาถึงการทำใบ ให้นำ้ลวดเบอร์ 28 พันรอบท่อพลาสติกขนาดต้องการ เหลือก้านไว้ประมาณ 5 ซม. บีบตรงปลายให้แหลม.
    แล้วใช้คีมทำหยัก ดามลวดไว้กลางกลีบ จากนั้นหุ้มผ้าใยบัว ควรทำเตรียมไว้ช่อละ 3 กลีบ และทำใบไว้อย่างน้อย 2 ขนาด
  4. การเข้าดอกชั้นแรก ใช้กลีบขนาดเล็ก 3 กลีบ มัดติดห่างจากบริเวณมัดเกสร ประมาณ 3 ซม.
    จากนั้นพันก้านลงไปจนถึงระดับที่จะมัดกลีบชั้นต่อไป ประมาณ 3-5 ซม.
  5. ติดกลีบชั้นที่ 2 ห่างจากชั้นแรกประมาณ 3-5 ซม. ขนาดควรใหญ่กว่าชั้นแรก ติดได้ 3-4 ใบ
  6. ติดกลีบสีต่างกัน อาจจะเป็นสีเขียว ในชั้นที่ 3-5
  7. จัดใส่กระถาง

เพียงทำตามขั้นตอนข้างต้น คุณก็จะได้ต้นคริสมาส ที่สามารถนำไปวางจำหน่าย อาจจะเป็นของฝาก หรืออาจจะมีคนสั่งคุณทำ ก็เป็นได้
เนื่องจากตอนนี้ งานฝีมือที่เกี่ยวกับใยบัวกำลังเติบโตเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นไม่ยากที่คุณจะเสริมรายได้ด้วยวิธีนี้...

…..ข้อมูลจากงานวันนี้http://xn--parttime-rpzuiok.xn--72c0baa2eyce3a4p.com/